วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2555
มารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ต
มารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ต
บัญญัติ 10 ประการสำหรับผู้เริ่มต้น
ถ้าศึกษาค้นคว้าในเรื่อง Netiquette บนเว็บ จะพบการอ้างอิงและกล่าวถึง The Core Rules of Netiquette จากหนังสือเรื่อง “Netiquette” เขียนโดย Virginia Shea ซึ่งเธอได้บัญญัติกฎกติกาที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตพึงตระหนักและยึดเป็นแนวปฏิบัติ 10 ข้อ ดังนี้ กฏข้อที่ 1 เป็นข้อเตือนใจสำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในขณะที่เรานั่งพิมพ์ข้อความเพื่อติดต่อสื่อสารผ่านจอคอมพิวเตอร์นั้น ต้องไม่ลืมว่าปลายทางอีกด้านหนึ่งของการสื่อสารนั้นที่จริงแล้วก็คือ “มนุษย์”
Adhere to the same standards of behavior online that you follow in real life
กฎข้อที่ 2 เป็นหลักคิดง่าย ๆ ที่อาจจะยึดเป็นแนวปฏิบัติ หากไม่รู้ว่าควรจะทำตัวอย่างไร ก็ให้ยึดกติกามารยาทที่เราถือปฏิบัติในสังคมมาเป็นบรรทัดฐานของการอยู่ร่วมกันแบบออนไลน์
Know where you are in cyberspace กฎข้อที่ 3 เป็นข้อแนะนำให้เราใช้งานอย่างมีสติ รู้ตัวว่าเรากำลังอยู่ ณ ที่ใด เมื่อเข้าในพื้นที่ใหม่ ควรศึกษาและทำความรู้จักกับชุมชนนั้น ก่อนที่จะเข้าร่วมสนทนาหรือทำกิจกรรมใด ๆ
Respect other people's time and bandwidth กฎข้อที่ 4 ให้รู้จักเคารพผู้อื่นด้วยการตระหนักในเรื่องเวลา ซึ่งจะสัมพันธ์กับขนาดช่องสัญญาณของการเข้าถึงเครือข่าย นั่นคือ ให้คำนึงถึงสาระเนื้อหาที่จะส่งออกไป ไม่ว่าจะเป็นในกลุ่มสนทนาหรือการส่งอีเมล เราควรจะ “คิดสักนิดก่อน submit” ใช้เวลาตรึกตรองสักหน่อยว่า ข้อความเหล่านั้นเหมาะสมหรือมีสาระประโยชน์กับใครมากน้อยเพียงใด Make yourself look good online
กฎข้อที่ 5 เป็นข้อแนะนำผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับการเขียนและการใช้ภาษา เนื่องจากปัจจุบันวิธีการสื่อสารบนเน็ตใช้การเขียนและข้อความเป็นหลัก การตัดสินว่าคนที่เราติดต่อสื่อสารด้วยเป็นคนแบบใด จะอาศัยสาระเนื้อหารวมทั้งคำที่ใช้ ดังนั้น ถ้าจะให้ “ดูดี” ก็ควรใช้ถ้อยคำที่เหมาะสมและตรวจสอบคำสะกดให้ถูกต้อง
Share expert knowledge กฎข้อที่ 6 เป็นข้อแนะนำให้เรารู้จักใช้จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบของอินเทอร์เน็ต นั่นคือ การใช้เครือข่ายเพื่อเปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยน ”ความรู้” รวมทั้งประสบการณ์กับผู้คนจำนวนมาก ๆ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ถือว่าเป็นจุดกำเนิดของอินเทอร์เน็ตนั่นเอง
Help keep flame wars under control
กฎข้อที่ 7 เป็นข้อคิดที่ต้องการให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้ร่วมมือกันเพื่อช่วยควบคุมและลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการส่งความคิดเห็นด้วยการใช้คำที่หยาบคาย เติมอารมณ์ความรู้สึกอย่างรุนแรงจนเป็นชนวนให้เกิดกรณีทะเลาะวิวาทกันในกลุ่มสมาชิก ซึ่งรู้จักกันในกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตว่า “flame”
Respect other people's privacy
กฎข้อที่ 8 เป็นคำเตือนให้เรารู้จักเคารพในความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น เช่นไม่อ่านอีเมลของผู้อื่น เป็นต้น
Don't abuse your power
กฎข้อที่ 9 เป็นคำเตือนสำหรับผู้ที่ได้รับสิทธิพิเศษ เช่น ผู้ดูแลระบบบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งมักจะได้รับสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่น บุคคลเหล่านี้ก็ไม่ควรใช้อำนาจหรือสิทธิ์ที่ได้รับไปในทางที่ไม่ถูกต้องและเป็นการเอาเปรียบผู้อื่น
Be forgiving of other people's mistakes กฎข้อที่ 10 เป็นคำแนะนำให้เรารู้จักให้อภัยผู้อื่น โดยเฉพาะพวก newbies ในกรณีที่พบว่าเขาทำผิดพลาดหรือไม่เหมาะสม และหากมีโอกาสแนะนำคนเหล่านั้น ก็ควรจะชี้ข้อผิดพลาดและให้คำแนะนำอย่างสุภาพ โดยอาจส่งข้อความแจ้งถึงผู้นั้น
จริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต
๑. ความมีเหตุผล รู้จักไตร่ตรอง ไม่หลงงมงาย มีความยับยั้งชั่งใจ ไม่ใช้อารมณ์ - ไม่เชื่อใครง่าย ๆ เช่น เชื่อเพื่อนทางอินเตอร์เน็ต ให้ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ เป็นต้น
๒. ความซื่อสัตย์สุจริต ไม่คิดคดทรยศ ไม่คดโกงและไม่หลอกลวง การรักษาคำพูดหรือคำมั่นสัญญา
- ไม่พูดปด หรือเขียนข้อความที่เป็นเท็จทางอินเตอร์เน็ต
- ไม่ให้ร้ายผู้อื่น ทางอินเตอร์เน็ต
- ไม่พูดปด หรือเขียนข้อความที่เป็นเท็จทางอินเตอร์เน็ต
- ไม่ให้ร้ายผู้อื่น ทางอินเตอร์เน็ต
- แสดงความเห็นอย่างตรงไปตรงมาด้วยความสุภาพในอินเตอร์เน็ต
- ช่วยเพิ่มพูนความรู้ใหม่ลงในอินเตอร์เน็ต
- รักหมู่คณะ มีใจหวังดี ไม่เขียนข้อความยุยงส่งเสริมให้เกิดความแตกแยก
- รู้หน้าที่ และกระทำหน้าที่ของตนเป็นอย่างดี
- เอาใจในการทำงานที่ตนรับผิดชอบ
- รู้จักกล่าวขอบคุณ หรือเขียนอวยพรให้แก่ผู้อื่นในอินเตอร์เน็ต
- ไม่เข้าไปในเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม
- ไม่ทะเลาะกับผู้อื่นในอินเตอร์เน็ต
๘. ความถ่อมตัว การวางตนอย่างเหมาะสม ไม่แสดงตนเหนือผู้อื่น
- ไม่เขียนคุยโวโอ้อวดตนเองในอินเตอร์เน็ต
sahathat.ac.th
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)